ทำอย่างไร จึงจะไม่เสียค่าปรับหนังสือ ?
ทำอย่างไร จึงจะไม่เสียค่าปรับหนังสือ ?
โดย สมสนิท จันทะบุตร
แผนกบริการหนังสือ
การยืม-คืนหนังสือ ของสมาชิกศูนย์สนเทศและหอสมุด สามารถยืมได้ตามสิทธิของสมาชิก และตามวันที่กำหนดส่ง เมื่อใกล้ถึงวันกำหนดส่งคืนหนังสือ ศูนย์สนเทศและหอสมุดจะทำการแจ้งเตือนให้สมาชิกทราบ โดยผ่านช่องทาง E-mail ซึ่งจะทำการแจ้งเตือนทุกวันพุธของสัปดาห์ เมื่อสมาชิกท่านใด ได้รับ E-mail แจ้งเตือนแล้วก็สามารถทำการต่อการยืมหนังสือได้ โดยเข้าเว็บไซต์ http://www.dpu.ac.th/laic (ในกรณีหนังสือเล่มใดเล่มหนึ่งมีสมาชิกท่านอื่นจองไว้แล้ว หรือ หนังสือมีเกินกำหนดส่ง สมาชิกจะไม่สามารถต่อการยืมได้)
ตัวอย่าง E-mail แจ้งเตือนการยืมหนังสือของสมาชิก
แจ้งรายการหนังสือที่ใกล้ถึงวันกำหนดส่ง
แจ้งรายการหนังสือที่เกินกำหนดส่ง
เมื่อสมาชิกท่านใดได้รับ E-mail แจ้งเตือนแล้วแต่ยังไม่ดำเนินการต่อการยืม ก็จะทำให้รายการยืมหนังสือเกินกำหนดส่ง ทางศูนย์สนเทศและหอสมุดก็จะดำเนินการตามขั้นตอนดังนี้
2.1 จะทำการปริ้นท์รายชื่อหนังสือค้างส่งของสมาชิกออกจากโปรแกรม vtls
2.2 จะนำรายชื่อหนังสือที่ค้างส่งไปตรวจสอบบนชั้นหนังสือ
2.3 ออกจดหมายติดตามทวงถามหนังสือค้างส่ง ซึ่งลงนามโดยผู้อำนวยการศูนย์สนเทศและหอสมุด ส่งไปตามที่อยู่ที่สมาชิกให้ไว้กับทางศูนย์สนเทศและหอสมุด
เมื่อสมาชิกได้รับจดหมายทวงถามแล้วควรจะดำเนินการนำหนังสือไปคืนที่เคาน์เตอร์ยืม-คืน ชั้น 2 และจะต้องชำระค่าปรับตามวันที่เกินกำหนด โดยทางศูนย์สนเทศและหอสมุดได้คิดอัตราค่าปรับไว้ดังนี้
- หนังสือทั่วไป, นวนิยาย, เรื่องสั้น / ปรับวันละ 5 บาท ต่อเล่ม/วัน
- หนังสือวิทยานิพนธ์, หนังสือสำรอง / ปรับวันละ 10 บาท ต่อเล่ม/วัน
(– จะยกเว้นค่าปรับ วันเสาร์ – อาทิตย์ และวันนักขัตฤกษ์ -)
ตัวอย่างจดหมายติดตามหนังสือที่เกินกำหนดส่ง
บริการจองหนังสือทางโทรศัพท์ของศูนย์สนเทศและหอสมุด
โดย เจียรไน จันทร์จวง
แผนกบริการหนังสือ
บริการจองหนังสือ เป็นบริการที่ศูนย์สนเทศและหอสมุด มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ จัดให้บริการสำหรับสมาชิกที่ต้องการใช้หนังสือเล่มที่มีผู้อื่นยืมออกไปจากห้องสมุดแล้ว สมาชิกสามารถจองไว้เพื่อยืมไปใช้เป็นรายต่อไปได้
ในการจองหนังสือของศูนย์สนเทศและหอสมุดนั้น แต่เดิมสมาชิกที่ต้องการจองหนังสือจะต้องสืบค้นหาเลขทะเบียนของหนังสือ (Item Number) จากฐานข้อมูลของห้องสมุดก่อน แล้วติดต่อที่เคาน์เตอร์บริการยืม-คืนหนังสือ เพื่อให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบความถูกต้องของหนังสือและกำหนดวันมารับหนังสือจอง พร้อมทั้งเขียน “แบบขอจองหนังสือ” ให้ครบถ้วน และรับสำเนาแบบขอจองหนังสือเพื่อมานำติดต่อขอยืมหนังสือที่ได้จองไว้ ณ เคาน์เตอร์บริการยืม-คืนหนังสือ เมื่อถึงกำหนดวันรับหนังสือจอง
ปัจจุบันนี้ศูนย์สนเทศและหอสมุด ได้พัฒนาบริการจองหนังสือให้สนองต่อความต้องการของผู้ใช้บริการเป็นหลัก อันจะทำให้สมาชิกที่ใช้บริการมีความพึงพอใจในการใช้บริการของศูนย์สนเทศและหอสมุดยิ่งขึ้น เนื่องจากสมาชิกสามารถใช้บริการจองหนังสือได้สะดวกรวดเร็วขึ้นโดยไม่ต้องเดินทางมาที่ศูนย์สนเทศและหอสมุด จึงจัดให้มีบริการจองหนังสือทางโทรศัพท์เป็นบริการอีกรูปแบบหนึ่ง ดังนั้นศูนย์สนเทศและหอสมุด จึงมีบริการจองหนังสือ 2 ลักษณะ คือ
1. บริการจองหนังสือที่เคาน์เตอร์ยืม-คืนหนังสือ
2. บริการจองหนังสือทางโทรศัพท์ (Book Request by Phone)
ในที่นี้จะขอกล่าวถึงเรื่องบริการจองหนังสือทางโทรศัพท์ โดยมีเงื่อนไขและรายละเอียดดังนี้
- หนังสือที่ต้องการจอง ต้องเป็นหนังสือที่มีผู้อื่นยืมไปก่อนแล้ว สถานะหนังสือ (Status) บน Web OPAC จะระบุวันกำหนดส่งคืน จึงจะทำการจองได้
- สมาชิกสามารถจองได้คนละ 3 รายการเท่านั้น
- การรับหนังสือที่จอง ให้ติดต่อขอรับหนังสือได้ที่ เคาน์เตอร์บริการยืม-คืนหนังสือ โดยศูนย์สนเทศและหอสมุดจะเก็บหนังสือที่จองไว้เป็นระยะเวลา 7 วัน หลังจากที่แจ้งให้มารับนับตั้งแต่วันที่รับคืน หากเกินกำหนดจะนำขึ้นชั้นเพื่อให้บริการต่อไป
- ห้องสมุดจะมีระบบแจ้งเตือนหนังสือที่จองไว้ โดยตรวจสอบได้บนเว็บไซต์ของศูนย์สนเทศและหอสมุด (http://www.dpu.ac.th/laic)
- บัตรสมาชิกห้องสมุดต้องไม่หมดอายุ
- หนังสือที่ถูกจองแล้วไม่สามารถจองซ้ำกันได้ขั้นขั้นตอนการใช้บริการ
- ผู้ใช้บริการโทรติตต่อที่หมายเลขโทรศัพท์ 0-2954-7300 ต่อ 403
- จากนั้นแจ้งชื่อและรหัสสมาชิกของผู้ต้องการจอง พร้อมทั้งแจ้ง Item Number (เลขทะเบียน) หรือ Call Number (เลขเรียกหนังสือ) ของรายการหนังสือที่ต้องการจอง
- เจ้าหน้าที่ทำการจองในระบบ VTLS ให้สมาชิกทันที พร้อมทั้งแจ้งวันมารับหนังสือจอง
- หลังจากโทรศัพท์เพื่อการจองเสร็จสิ้นแล้ว ผู้ใช้บริการสามารถตรวจสอบการจองบน Web OPAC ของศูนย์สนเทศและหอสมุดได้ โดยตรวจสอบในรายการของสมาชิก และสามารถดูวันกำหนดส่งคืนของหนังสือได้
Book and Audio Visual Drop
ภารดี ธนูญศักดิ์
แผนกบริการหนังสือ
Book & Audio Visual Drop คือ ตู้ไม้ที่ศูนย์สนเทศและหอสมุด มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ได้ออกแบบมาเพื่อรองรับทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุดที่ผู้ยืมต้องการนำมาส่งคืนนอกเวลาทำการของห้องสมุดหรือกรณีเร่งด่วน จะช่วยให้ผู้ใช้บริการได้รับความสะดวกในการส่งคืนหนังสือและสื่อโสตทัศน์โดยไม่ต้องแสดงบัตรหรือเขียนข้อมูลใด ๆ เพียงหย่อนหนังสือ, CD, DVD, VCD ใส่ในตู้ให้เรียบร้อย
ศูนย์สนเทศและหอสมุด ได้เปิดให้บริการรับคืนหนังสือและสื่อโสตทัศน์นอกเวลาทำการ (Book & Audio Visual Drop) เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้บริการที่ไม่สามารถนำหนังสือและสื่อโสตทัศน์มาส่งคืนในเวลาเปิดทำการได้ทันเวลา โดยจัดให้มีตู้รับคืนหนังสือและสื่อโสตทัศน์ตั้งไว้บริเวณด้านหน้าศูนย์สนเทศและหอสมุดเป็นการจัดบริการเสริมให้แก่ผู้ใช้ห้องสมุด อันจะสร้างความพึงพอใจในการใช้บริการของศูนย์สนเทศและหอสมุดได้
เจ้าหน้าที่ศูนย์สนเทศและหอสมุดจะเปิดตู้เพื่อนำหนังสือและสื่อโสตทัศน์มาทำการคืนในระบบห้องสมุดอัตโนมัติทุกวันทำการ กรณีผู้ยืมนำหนังสือหรือสื่อโสตทัศน์ที่เกินกำหนดส่งแล้วมาส่งคืนผ่านตู้รับคืนนอกเวลาทำการ ผู้ยืมต้องรับผิดชอบเงินค่าปรับการใช้เกินเวลาตามอัตราที่ศูนย์สนเทศและหอสมุดกำหนดไว้ โดยผู้ยืมสามารถมาติดต่อที่เคาน์เตอร์บริการยืม-คืนเพื่อชำระเงินค่าปรับได้ในภายหลัง
ข้อปฏิบัติของผู้ใช้บริการ
1. รับคืนเฉพาะหนังสือและสื่อโสตทัศน์ที่ยืมมาจากศูนย์สนเทศและหอสมุด มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ และส่งคืนในช่วงเวลาที่ ศูนย์สนเทศและหอสมุดปิดบริการยืม-คืนหนังสือและสื่อโสตทัศน์แล้วเท่านั้น
2. หลังจากที่ผู้ยืมได้นำหนังสือหรือสื่อโสตทัศน์มาส่งคืนในตู้บริการรับคืนนอกเวลาทำการแล้ว 1 วัน ผู้ยืมควรตรวจสอบรายละเอียดการคืนผ่าน Web OPAC โดยเข้าเว็บไซต์ของศูนย์สนเทศและหอสมุดที่ http://www.dpu.ac.th/laic/ ดังภาพ ที่ Quicklink เลือก “บริการออนไลน์” แล้วเลือก “บริการตรวจสอบการยืม-คืนหนังสือและสื่อโสตทัศน์” จากนั้นให้พิมพ์รหัสสมาชิกห้องสมุด แล้วเลือก “ตรวจสอบประวัติการคืน”
ดังภาพ ตรวจสอบรายการที่ปรากฏในหน้า “ประวัติการคืนของสมาชิกรหัส…” ว่ามีรายการหนังสือหรือสื่อโสตทัศน์ที่ได้นำมาส่งคืนผ่านตู้บริการรับคืนนอกเวลาทำการหรือไม่
Real Time กับงานบริการยืม-คืนหนังสือ
โดย กนกวรรณ ก๋งฉิน
แผนกบริการหนังสือ
ศูนย์สนเทศและหอสมุด ได้ตระหนักถึงความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ จึงได้นำ “Real Time System” (ระบบเวลาจริง) มาประยุกต์ใช้กับงานบริการยืม-คืนหนังสือ เพื่อเป็นการพัฒนาศักยภาพการบริการที่จะนำไปสู่ความพึงพอใจและให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ใช้บริการ เป็นการจัดบริการเสริมโดยคำนึงถึงความสอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้บริการเป็นหลัก เนื่องจากศูนย์สนเทศและหอสมุดให้บริการยืม-คืนหนังสือโดยใช้ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ ขณะที่สมาชิกมาใช้บริการยืม-คืนหนังสือ เจ้าหน้าที่จะปฏิบัติงานการให้บริการยืมหรือคืนหนังสือผ่านหน้าจอเครื่องคอมพิวเตอร์ มีการสแกน (Scan) รหัสสมาชิกและรหัสหนังสือเข้าไปในระบบห้องสมุดอัตโนมัติ สมาชิกบางคนต้องการทราบว่าตนเองได้ยืมหนังสืออะไรไปบ้างแล้ว มีรายการใดที่ใกล้ถึงกำหนดส่งเร็วที่สุด รายการที่กำลังทำการยืมมีกำหนดส่งคืนเมื่อไหร่ หรือเมื่อสมาชิกคืนหนังสือต้องการทราบว่ามีค่าปรับหรือไม่ เป็นต้น
Real Time กับงานบริการยืม-คืนหนังสือ เป็นบริการที่จะช่วยให้คุณเข้าถึงสถานภาพของผู้ใช้บริการได้ดีทีเดียว ก่อนอื่นขอกล่าวถึงความหมายของคำว่า “Real Time” ซึ่งได้ศึกษาจากเว็ปไซต์ http://www.mindphp.com (สืบค้นเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2555) มีเอกสารเรื่อง “Real Time คืออะไร เรียลทาม คือการทำงานแบบทันที” ผู้เขียนได้ให้ความหมายคำว่า “Real Time” ไว้สั้นๆ ดังนี้
คำว่า “Real Time System” (ระบบเวลาจริง) หมายถึง การตอบสนองทันที
ดังนั้น การนำ Real Time มาประยุกต์ใช้กับงานบริการยืม-คืนหนังสือนั้น ศูนย์สนเทศและหอสมุด จึงเพิ่มหน้าจอเครื่องคอมพิวเตอร์ที่จุดบริการยืม-คืนหนังสืออีกหนึ่งหน้าจอสำหรับให้ผู้ใช้บริการสามารถมองเห็นข้อมูลการให้บริการยืม-คืนที่เจ้าหน้าที่กำลังปฏิบัติงานแบบทันทีและตลอดเวลาที่สมาชิกติดต่อกับเจ้าหน้าที่
จุดเด่นของ Real Time กับงานบริการยืม-คืนหนังสือ คือ
1. สามารถตอบสนองกับผู้ใช้บริการได้ทันที แบบชัดเจนและรวดเร็ว
2. สามารถเรียกดูรายงานสถานภาพการยืม-คืนหนังสือได้ทันทีที่เจ้าหน้าที่ทำการบันทึกรายการยืมหรือคืนหนังสือนั้น
3. ลดความสิ้นเปลืองของกระดาษ และเวลา (กรณีผู้ใช้บริการต้องการให้ print ข้อมูลการยืมหนังสือของตนเอง)
4. ผู้ใช้บริการสามารถตรวจสอบข้อมูลส่วนตัวที่อยู่ในระบบได้ และแจ้งให้เจ้าหน้าที่ปรับปรุงแก้ไขข้อมูลให้ถูกต้องได้ทันที
5. ผู้ใช้บริการสามารถตรวจสอบความถูกต้องในการปฏิบัติงานจริงของเจ้าหน้าที่จากข้อมูลที่ปรากฎบนหน้าจอเครื่องคอมพิวเตอร์
ตัวอย่างหน้าจอ เมื่อเจ้าหน้าที่ Scan รหัสสมาชิกของผู้ยืมหนังสือ ที่หน้าจอ Check Out ผู้ยืมสามารถตรวจสอบข้อมูลส่วนตัวที่อยู่ในระบบได้ หากข้อมูลไม่ถูกต้องสามารถแจ้งให้เจ้าหน้าที่ปรับปรุงแก้ไขได้ทันที
ตัวอย่างหน้าจอ เมื่อเจ้าหน้าที่ Scan รหัสหนังสือที่สมาชิกต้องการยืม ที่หน้าจอ Check Out ผู้ยืมสามารถตรวจสอบวันส่งคืน (Due Date)ได้ทันที
ตัวอย่างหน้าจอ เมื่อเจ้าหน้าที่ Scan รหัสหนังสือที่สมาชิกนำมาส่งคืน ที่หน้าจอ Check In ผู้ยืมสามารถตรวจสอบสถานะของหนังสือ (New Status) ได้ทันทีว่า ระบบได้ทำการคืนเรียบร้อยแล้วหรือไม่ มีค่าปรับ (Fine) การส่งคืนเกินกำหนดกี่บาท
โครงการบรรณารักษ์สัมพันธ์สร้างสรรค์ชุมชน ครั้งที่ ๑๓ ณ ห้องสมุดโรงเรียนวัดลาดเป้ง
โครงการบรรณารักษ์สัมพันธ์สร้างสรรค์ชุมชน ครั้งที่ ๑๓ อาจารย์สุวคนธ์ ศิริวงศ์วรวัฒน์ ผู้อำนวยการศูนย์สนเทศและหอสมุด จัดโครงการ |
โครงการอบรมความรู้เฉพาะทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
ศูนย์สนเทศและหอสมุด ร่วมกับฝ่ายทรัพยากรบุคคลจัดโครงการอบรมความรู้เฉพาะทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ๒ เรื่อง ให้กับบุคลากรศูนย์สนเทศและหอสมุด วิทยากรโดย อาจารย์ภคิน สิริรัตนกิจ เลขานุการภาควิชาการออกแบบเชิงโต้ตอบและพัฒนาเกม คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ ดังนี้
๑. เรื่อง “Microsoft Office PowerPoint 2007” วันจันทร์ที่ ๑๕ ตุลาคม ๒๕๕๕ ณ ห้อง Lab ๗ ชั้น ๓ ศูนย์คอมพิวเตอร์ อาคาร ๘ มีบุคลากรเข้าร่วมการอบรม จำนวน ๔๓ คน สรุปผลการประเมิน ค่าเฉลี่ย ๔.๗๐ อยู่ในระดับมากที่สุด
เอกสารประกอบการบรรยาย คลิกที่นี่ : PowerPoint 2007
๒. เรื่อง “Microsoft Office Publisher 2007” วันอังคารที่ ๑๖ ตุลาคม ๒๕๕๕ ณ ห้อง Lab ๗ ชั้น ๓ ศูนย์คอมพิวเตอร์ อาคาร ๘ มีบุคลากรเข้าร่วมการอบรม จำนวน ๔๗ คน สรุปผลการประเมินค่าเฉลี่ย ๔.๗๒ อยู่ในระดับมากที่สุด
เอกสารประกอบการบรรยาย คลิกที่นี่ : Publisher 2007
การอบรมเรื่อง “การบริการและการสื่อสาร”
โดย นางสาวสุพดี บรรจงแต้ม หัวหน้าแผนกบริการหนังสือ
นางรุ่งนภา พื้นงาม หัวหน้าแผนกบริการสิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง
การอบรมเรื่อง “การบริการและการสื่อสาร” เป็นส่วนหนึ่งของการจัดการบริหารความเสี่ยง ด้านบุคลากรและความเสี่ยงด้านธรรมาภิบาลของศูนย์สนเทศและหอสมุด วิทยากรโดย อาจารย์ ศรันยา สารากรบริรักษ์ ผู้อำนวยการศูนย์เตรียมความพร้อมเพื่อการทำงาน เมื่อวันพุธที่ 7 พฤศจิกายน 2555 สถานที่อบรม ณ ศูนย์สนเทศและหอสมุด ห้องโสตทัศน์ 1 ชั้น 5 มีผู้เข้าอบรม จำนวนทั้งสิ้น 37 คน ดังนี้ แผนกบริการหนังสือ 9 คน แผนกบริการสื่อโสตทัศน์ 5 คน แผนกบริการสิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง 7 คน แผนกบริการสารสนเทศ 4 คน แผนกบริหารงานทั่วไป 3 คน แผนกทรัพยากรสารสนเทศ 5 คน แผนกเทคโนโลยีห้องสมุด 1 คน หอประวัติและพิพิธภัณฑ์ 3 คน
การประเมินผลการอบรม เรื่อง “การบริการและการสื่อสาร” ได้แจกแบบประเมินให้แก่บุคลากรที่เข้าร่วมอบรม จำนวน 37 ชุด และได้รับแบบประเมินกลับคืนมา 37 ชุด คิดเป็นร้อยละ 100 การวิเคราะห์ข้อมูล: ใช้โปรแกรมสำเร็จรูป Microsoft Excel ในการแจกแจงมัชฌิมเลขคณิตหรือค่าเฉลี่ย โดยแปลความหมายดังนี้
4.50-5.00 หมายถึงมากที่สุด
3.50-4.49 หมายถึงมาก
2.50-3.49 หมายถึงปานกลาง
1.50-2.49 หมายถึงน้อย
1.00-1.49 หมายถึงน้อยที่สุด
สรุปผลการประเมิน : ความคิดเห็นของบุคลากรที่เข้าร่วมอบรม เรื่อง “การบริการและการสื่อสาร” อยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 4.29
(ดูเอกสารสรุปผลการประเมิน)
ดูเอกสารฉบับเต็มที่นี่ : LAIC_Risk_2012
SciFinder
โดย นางสาวสุภี วิหคไพบูลย์
What is SciFinder?
SciFinder is the first choice for chemists and related scientists around the world for scientific research and discovory
Sources of SciFinder
- 10000+journals monitored (+4000 medline journals)
- Patents (63 patents organizations)
- Technical disclosures
- Conference proceedings
- Technical reports
- Books
- Dissertations
- Reviews
- Meeting abstracts
- Web preprints
- IP.com Journal
- Electronic only journals
Essential Scientific Databases
- CAS Registry
- CASREACT
- CAplus
- CHEMCATS
Summary
• SF has built in intelligence to aid the researcher •An enormous amount of information can be retrieved for a single search
• Post processing tools enable end users to control their search process
• Substance information easily retrieved from a key word search
• Specific information easily obtained from a general search
• A number of structure search types are available at the touch of a button
• Powerful analyse /refine tools allow scientists to easily narrow down their search process
• Seamless integration between structure and bibliographic databases
Scifinder
เป็นฐานข้อมูลด้านเคมี ชีวเคมีและอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วยข้อมูลจากฐานข้อมูล 4 ฐานข้อมูล คือ
- CAS Registry
- CAS REACT
- CA Plus
- CHEMLIST
ให้ข้อมูลบรรณานุกรมและสาระสังเขป พร้อมกับมี Link เชื่อมโยงไปยังเอกสารฉบับเต็ม
หมายเหตุ : จากการร่วมงาน CAS Seminar สัมมนาเกี่ยวกับหัวข้อ SciFinder – An Essential Research Tool และ How to improve your research output in Asia จัดโดย บริษัท บุ๊คโปรโมชั่น แอนด์ เซอร์วิส จำกัด เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2555 เวลา 09.00 – 14.00 น. ณ ห้องประชุมใหญ่ ชั้น 5 อาคารเทพรัตน์วิทยาโชติ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีผู้เข้าร่วมงานดังนี้ อาจารย์สุวคนธ์ ศิริวงศ์วรวัฒน์ และนางสาวสุภี วิหคไพบูลย์