Archive for the ‘เทคโนโลยีการสื่อสาร’ Category
QR Code กับบริการห้องสมุด
QR Code คือ อะไร
QR Code คือ รหัสสองมิติ (two-dimensional code) ที่สามารถบันทึกข้อมูล เช่น ตัวหนังสือ ตัวเลข ภาพต่างๆ ได้ โดยรหัสถูกจัดไว้ในรูปแบบสี่เหลี่ยมจัตุรัส
QR Code สามารถอ่านข้อมูลได้รวดเร็วกว่าและใช้งานง่ายกว่ารหัสแท่ง (Bar Code) ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน การเก็บข้อมูลก็สามารถเก็บข้อมูลได้มากกว่า bar code ในขณะที่ bar code (one-dimensional bar code) สามารถเก็บข้อมูลได้ประมาณ 20 อักขระ QR Code สามารถเก็บข้อมูลตัวเลข ตัวอักษร (ในรูป ASCII) 2,953 binary bytes, เก็บอักขระ Kanji ได้สูงสุด 1,817 อักขระ
รหัสแท่ง (bar code) โดยมากใช้ในวงจำกัดของงาน logistics สำหรับการคำนวณ การสำรวจสินค้า เป็นต้น แต่ QR Code นำมาใช้ในวงกว้าง นำมาใช้ในการสื่อสารข้อมูล การตลาด การประชาสัมพันธ์ และการทำธุรกิจ นามบัตร (card making)
บริษัท Denso Wave ของญี่ปุ่น ได้ประดิษฐ์ QR Code ขึ้นมาใช้ใน ปี ค.ศ. 1994 และได้ขึ้นทะเบียนลิขสิทธิ์ชื่อ QR Code และเป็นรหัสมาตรฐานสากลของ ISO ในปี ค.ศ. 2000 เปิดให้ใช้ทั้งประเทศญี่ปุ่นและทั่วโลก และมีการนำมาใช้ในวงการต่างๆ เช่น วารสารธุรกิจ ขายสินค้า หรือขนส่ง เพื่อการโฆษณา ประชาสัมพันธ์ และการสื่อสารในระบบออนไลน์
ศูนย์สนเทศและหอสมุดเห็นความสำคัญของรหัส 2 มิติ หรือ QR Code นี้ จึงนำมาบันทึก URL ของบริการต่างๆ ของศูนย์สนเทศและหอสมุดทั้ง 11 บริการ เพื่อให้ผู้ใช้บริการ คือ อาจารย์ นักศึกษา บุคลากร และสมาชิกภายนอก สามารถเข้าใช้บริการได้ถึงแม้ไม่ได้อยู่หน้าคอมพิวเตอร์ แต่เข้าใช้บริการโดยผ่านโทรศัพท์มือถือ สแกน QR Code ซึ่งเก็บข้อมูล URL ทั้ง 11 บริการ เก็บไว้บนโทรศัพท์มือถือและเลือกใช้บริการโดยคลิก QR Code ที่ต้องการก็จะเชื่อมไปยังหน้าโฮมเพจของบริการนั้นๆ
โทรศัพท์มือถือที่จะนำมาใช้นี้ ต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้
1. มีกล้องถ่ายรูปได้
2. มีโปรแกรมอ่าน QR Code (โปรแกรมอ่านรหัส QR สามารถโหลดมาติดตั้งได้ฟรี เช่น The Kaywa Reader, QuickMark)
3. ใช้อินเทอร์เน็ต
4. โทรศัพท์จะต้องมีระบบปฏิบัติการ Window mobile หรือ symbian version 6 ขึ้นไป หรือระบบ Java แต่ถ้าเป็นโทรศัพท์รุ่นใหม่ เช่น IPhone สามารถใช้ได้เลย
QR Code ทั้ง 11 บริการของศูนย์สนเทศและหอสมุด มีดังนี้
เว็บไซต์ที่ใช้ทำ QR Code คือ http://qrcode.kaywa.com/
ซึ่งนอกจากทำ QR Code ได้แล้ว ใน Web นี้ ยังสามารถดาวโหลดโปรแกรมอ่าน QR Code ได้ด้วย
บรรณานุกรม
Kaywa qr-code. (2011). Retrieved August 18, 2011, from
http://qrcode.kaywa.com/
Qrforest never seen before design QRCode Service. (2011). Retrieved
August 10, 2011, from http://qrforest.com/guide
QR Code – เพียงถ่ายภาพด้วยมือถือก็เข้าเน็ตได้แล้ว. (2554). สืบค้นเมื่อ 17
สิงหาคม 2554, จาก http://beta.i3.in.th/content/view/313
University of Bath, Library Web Team. (2011). The Library. Retrieved
June 22, 2011, from http://www.bath.ac.uk/library/services/
qrcode.html
สุภาพร วิมุกตานนท์ และอุทิตย์ พิมพา. (2554). QR Code. (เอกสารถ่ายสำเนา).
3G เทคโนโลยีใหม่ในการพัฒนาองค์กร
3G หรือ Third Generation เป็นเทคโนโลยีการสื่อสาร อุปกรณ์ที่ผสมผสานการนำเสนอข้อมูลและเทคโนโลยีในปัจจุบันเข้าด้วยกัน เช่น PDA โทรศัพท์มือถือ Walkman กล้องถ่ายรูป และอินเทอร์เน็ต เทคโนโลยี 3G ทำให้การติดต่อสื่อสารเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว และมีรูปแบบใหม่ๆ มากขึ้น ประกอบกับอุปกรณ์สื่อสารไร้สายในระบบ 3G สามารถให้บริการระบบเสียง และแอพพลิเคชั่นรูปแบบใหม่ เช่น จอแสดงภาพสี เครื่องเล่นเอ็มพี 3 เครื่องเล่นวิดีโอ การดาวน์โหลดเกม แสดงกราฟิก และการแสดงแผนที่ตั้งต่างๆ ทำให้การสื่อสารเป็นแบบอินเตอร์แอ็กทีฟ สร้างความสนุกสนาน และสมจริงมากขึ้น
3G ส่งผลอย่างไรต่อองค์กร
ด้วยความโดดเด่นของ 3G ที่สามารถส่งข้อมูล + เสียงไปพร้อมกันได้ดี บริษัทหรือองค์กรต่างๆ สามารถติดต่อสื่อสารระหว่างกันได้อย่างสะดวกรวดเร็ว เช่น การประชุมทางไกลที่สามารถทำได้ผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ (Teleconference, Video Conference), การทำโมบายล์ออฟฟิศ, การติดต่อประสานงานที่กระชับรวดเร็ว และการส่งไฟล์ขนาดใหญ่ที่สามารถเปิดอ่านได้บนมือถือ นอกจากนี้ยังสามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการโดยร่วมมือกับพันธมิตรดำเนินธุรกิจที่ส่งเสริมกันและกัน ให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายในรูปแบบการตลาดที่แปลกใหม่ ดึงดูดใจและหลากหลายมากยิ่งขึ้น เช่น การติดตามสอดส่องเฝ้าระวังความปลอดภัยภายในบ้านแบบเรียลไทม์ (Online Monitoring)
ปัจจัยที่ผลักดันให้ 3G เกิดและประสบความสำเร็จ
ให้ความรู้ความเข้าใจแก่ตลาดทั้งในด้านเทคโนโลยีและบริการ และให้ประชาชนรู้จักใช้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์สูงสุด (Educate market)
พัฒนาระบบเครือข่ายให้มีความพร้อม สามารถรองรับการเชื่อมต่อได้ครอบคลุมและรวดเร็ว (Network Availability)
มีการพัฒนาเนื้อหาข้อมูลทั้งสาระความรู้ ข่าวสาร และบันเทิงที่ดึงดูดความสนใจ (Content Provider)
การให้บริการจะต้องไม่ซับซ้อนและค่าบริการต้องไม่สูงเกินไป จึงจะผลักดันตลาดได้
รัฐบาลต้องผลักดัน โดยให้กฎระเบียบเปิดกว้าง เอื้อต่อการลงทุน และส่งเสริมการเข้าถึงข้อมูลของประชาชน (Government Support)
ความแพร่หลายและความหลากหลายของ Terminal หรืออุปกรณ์สื่อสาร (Handset) หมายถึง “ดีกว่า” แต่รองรับการใช้งานที่ “ซับซ้อนกว่า” ตามยุคสมัยและความต้องการของสังคม เป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาประเทศ เมื่อ 3G เข้ามาย่อมกระตุ้นการใช้งานและพัฒนาไปพร้อมๆ กันทั้งระบบของประเทศ
หมายเหตุ : สรุปจากการอภิปรายทางวิชาการ เรื่อง “3 G เทคโนโลยีใหม่ในการพัฒนาองค์กร” วันพฤหัสบดีที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2552 ณ ห้องประชุม อาคารพิทยพัฒน์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ผู้เข้าร่วมฟังการอภิปรายทางวิชาการ ได้แก่ นางลักษมี พูลทรัพย์ นางสาวขนิษฐา ภมรพิพิธ นางสาวอุมา พร ไชยสูง และนางสาวกรรณิการ์ วัชราภรณ์