การเก็บรักษาภาพจดหมายเหตุและฟิล์มเนกาทีฟ
สรุปสาระสำคัญที่ได้จากการอบรมสัมมนา
เรื่อง การเก็บรักษาภาพจดหมายเหตุและฟิล์มเนกาทีฟ
นายรมย์ ธนูเทพ
การบรรยายเรื่อง “บทบาทของเครือข่ายงานด้านการจัดเก็บรักษาเอกสารจดหมายเหตุ” โดย ผู้อำนวยการสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ (นางสุรีย์รัตน์ วงศ์เสงี่ยม) โดย ผอ.หอจดหมายเหตุได้กล่าวถึง การสร้างเครือข่ายความรู้ด้านการเก็บรักษาเอกสารจดหมายเหตุร่วมกันซึ่งจะเป็นการอำนวยความสะดวกในการทำงานของสำนักหอจดเหตุเพราะว่าในปัจจุบันหน่วยงานต่าง ๆ ที่จัดส่งเอกสารมาหอจดหมายเหตุยังไม่มีการจัดหมวดหมู่เอกสารจึงเป็นภาระหน้าที่ของหอจดหมายเหตุ ในการคัดแยกเอกสารซึ่งทำให้เสียเวลาในการดำเนินการมาก ซึ่งหอจดหมายเหตุมีข้อจำกัดในด้านบุคลากรและงบประมาณ จึงอยากให้หน่วยงานในเครือข่ายมีการจัดกลุ่มเอกสารและการดูแลรักษาเอกสารให้ถูกต้องตามระบบ
การบรรยายเรื่อง “การเก็บรักษาเอกสารในภูมิภาคเขตร้อนชื้น” โดย ดร.ศิริชัย หวังเจริญตระกูล ผู้อำนวยการกลุ่มวิทยาศาสตร์เพื่อการอนุรักษ์ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ
การเก็บรักษาเอกสารในภูมิภาคเขตร้อนชื้นท่านวิทยากรได้กล่าวถึง วัสดุที่ใช้ในการทำเอกสารทางจดหมายเหตุและอธิบายถึงส่วนประกอบของวัสดุต่างๆ เช่น กระดาษ ผ้า หมึก ฟิล์ม ภาพถ่าย และอธิบายถึงสาเหตุที่ทำให้ศิลปะโบราณวัตถุเสื่อมสภาพ ได้แก่ แสง อุณหภูมิ ความชื้น จุลินทรีย์ แมลง สัตว์ และมลภาวะ
วิธีควบคุมแสงในการเก็บเอกสารทางจดหมายเหตุ
- ติดตั้งระบบควบคุมแสง
- ใช้แผ่นกรองแสงเพื่อลดรังสี UV
การบรรยายเรื่อง “วัสดุการจัดเก็บภาพและเนกาทีฟ” โดยนางกุลพันธาดา จันทร์โพธิ์ศรี อดีตผู้อำนวยการสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ โดยท่านวิทยากรได้กล่าวถึงเรื่องของวัสดุการจัดเก็บภาพและเนกาทีฟ โดยเน้นถึงการอนุรักษ์ คือ การป้องกัน และการปฏิบัติการอนุรักษ์ ซึ่งถ้าหากเอกสารมีการเสียหายเกิดขึ้นแล้วย่อมยากต่อการรักษาให้มีสภาพดีดังเดิมได้ดังนั้นวิธีที่ดีที่สุดคือการป้องกันรักษาก่อนที่เอกสารจะชำรุดเสียหายโดยต้องเลือกใช้วัสดุในการจัดเก็บที่ปราศจาก กรด และด่าง ซองเก็บภาพไร้กรด ไมลาร์ เพื่อป้องกันความเสียหายอันจะเกิดขึ้นกับภาพและฟิล์มเนกาทีฟ
การบรรยายเรื่อง “การจัดเก็บภาพจดหมายเหตุและเนกาทีฟของสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ” โดยนางสาวนัยนา แย้มสาขา หัวหน้ากลุ่มอนุรักษ์เอกสาร สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ ท่านวิทยากรได้กล่าวถึงความหมายของเอกสารจดหมายเหตุ ว่า หมายถึง ข้อมูลทุกรูปแบบที่หน่วยงานผลิตขึ้นใช้ในการปฏิบัติงาน แต่สิ้นกระแสการปฏิบัติงานแล้ว และได้รับการประเมินว่ามีคุณค่าฯลฯ
ประเภทของเอกสารจดหมายเหตุ และสาเหตุที่ทำให้เอกสารชำรุดเสื่อมสภาพ
- สาเหตุภายใน
- สาเหตุภายนอก เช่น มนุษย์ อุณหภูมิ น้ำและความชื้น แสงสว่าง แมลง จุลินทรีย์ เป็นต้น
การจัดเก็บและดูแลเอกสารจดหมายเหตุต้องคำนึงถึงองค์ประกอบและความเหมาะสมหลายๆด้าน เช่น ลักษณะภูมิอากาศ สถานที่ตั้ง ห้องเก็บเอกสารจดหมายเหตุ คลังเก็บเอกสารจดหมายตุ กระบวนการการจัดเก็บเอกสารจดหมายเหตุ สถานที่เก็บ ครุภัณฑ์และวัสดุที่ใช้จัดเก็บเอกสารการควบคุมสิ่งแวดล้อม การซ่อมแซมเอกสาร การรักษาเอกสารด้วยการทำสำเนา ฯลฯ
การบรรยายเรื่อง “ การจัดเก็บภาพและเนกาทีฟของสำนักงานหอสมุดแห่งชาติ” โดยนายบุญศักดิ์ ปัญจสุนทร วิทยากรจากสำนักหอสมุดแห่งชาติ วิทยากรได้พูดถึงงานของหอสมุดแห่งชาติซึ่งคนส่วนใหญ่มักจะคิดถึงแต่การบริการหนังสือเพียงอย่างเดียว แต่นอกจากงานบริการหนังสือแล้วยังมีบริการอื่นๆของงานหอสมุดแห่งชาติอีกหลายอย่าง เช่น งานสื่อโสตทัศน์ เทปคาสเสท เทปวีดิทัศน์ ฟิล์มถ่ายภาพต่างๆ แผนที่เก่า ปฏิทินเก่า แผ่นเสียง โน้ตเพลง ฯลฯ
ในส่วนของงานภาพและฟิล์มเนกาทีฟที่ให้บริการ
- ภาพเก่าหายาก
- ภาพจากสำนักพระราชวัง
- ภาพบันทึกกิจกรรมของหอสมุดแห่งชาติ
- แผนที่
- ฟิล์มเนกาทีฟ
- ฯลฯ
วัตถุประสงค์หลักของการจัดภาพและฟิล์มเนกาทีฟ คือ เพื่อการอนุรักษ์และการบริการ
การให้บริการ
- บริการจากตัวต้นฉบับ
- ภาพถ่ายจากต้นฉบับ
สาเหตุของการเสื่อมสภาพ
- การเสื่อมสภาพจากตัววัสดุเอง
- การจัดเก็บ
การอนุรักษ์ต้นฉบับ
- จัดเก็บให้ถูกต้อง
- เลือกใช้วัสดุให้ถูกต้องและเหมาะสม
- การสร้างสถานที่จัดเก็บให้ถูกต้อง
หมายเหตุ:- จากการประชุมสัมมนา เรื่อง “การเก็บรักษาภาพจดหมายเหตุและฟิล์มเนกาทีฟ” จัดโดย สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร ในวันศุกร์ที่ 17 มิถุนายน 2554 ณ ห้องเทพประทาน ชั้น 7 โรงแรมเวียงใต้ กรุงเทพมหานคร ผู้เข้าร่วมสัมมนา นายรมย์ ธนูเทพ และนายชัยวุฒิ บุตตัสสะ