Posts Tagged ‘หอจดหมายเหตุ’
สรุปการฝึกอบรมประสบการณ์วิชาชีพด้านหอจดหมายเหตุ ณ หอจดหมายเหตุแห่งชาติ
สรุปการฝึกอบรมประสบการณ์วิชาชีพด้านหอจดหมายเหตุ
ณ หอจดหมายเหตุแห่งชาติ
วันที่ 2 กรกฎาคม -29 สิงหาคม 2555
นายรมย์ ธนูเทพ
นายชัยวุฒิ บุตตัสสะ
ฝึกอบรมด้านการบริหารเอกสาร (2-3 ก.ค.2555)
การพิจารณาบัญชีเอกสารขอทำลาย
หน่วยงานราชการส่งบัญชีขอทำลายเอกสารมาให้หอจดหมายเหตุแห่งชาติพิจารณาก่อน หอจดหมายเหตุแห่งชาติเห็นว่าเรื่องใดมีคุณค่าก็จะขอสงวนเก็บเอกสารไว้ ส่วนเอกสารที่ไม่มีคุณค่าก็จะให้หน่วยงานทำลาย การส่งมอบเอกสารจะมีบัญชีในการส่งมอบเอกสาร สำหรับเซ็นรับและตอบกลับ และเมื่อได้รับเอกสารที่ขอสงวนแล้วจะมีขั้นตอนในการดำเนินการดังนี้ Read the rest of this entry »
หอจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์มหาวิทยาลัยคนรุ่นใหม่
สรุปสำระสำคัญจากการเข้าร่วมฟัง
การเสวนาเรื่อง “หอจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์มหาวิทยาลัยคนรุ่นใหม่”
นายรมย์ ธนูเทพ
นายชัยวุฒิ บุตตัสสะ
มหาวิทยาลัยมหิดลจัดตั้งหน่วยงาน “หอจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์มหาวิทยาลัยมหิดล” จัดสร้างหอพระราชประวัติสมเด็จพระบรมราชชนก หอเกียรติยศแห่งมหาวิทยาลัยมหิดล ณ ศูนย์การเรียนรู้มหิดล รวมถึงห้องจดหมายเหตุแผนที่และผังแม่บท ณ อาคารศาลายา กองกายภาพและสิ่งแวดล้อม เพื่อเป็นศูนย์กลางการประสานงานข้อมูลระหว่างทุกส่วนงานที่ดำเนินการด้านจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ฟังการเสวนาเรื่อง “หอจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์มหาวิทยาลัยกับคนรุ่นใหม่” โดยมีรายละเอียดดังนี้
ดร.อนุชาติ พวงสำลี ประธานคณะกรรมการอำนวยการหอจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวถึงประวัติการก่อสร้างมหาวิทยาลัย จากการศึกษาแนวคิดและประวัติพระราชบิดาโดยละเอียด จึงนำจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์รวมกันเนื่องจากเป็นการทำงานแบบผสมผสาน และการทำงานต้องไม่ซ้ำซ้อน เชื่อมกันเป็นเครือข่าย การเปลี่ยนแปลงของมหิดล ตอบโจทย์นักศึกษาในศตวรรษหน้าเพื่อสิ่งแวดล้อม เพื่อหล่อหลอมคนรุ่นใหม่ จึงจัดสภาพแวดล้อมให้ปลอดภัย ทั้งกลางวัน กลางคืน และได้ก่อสร้าง “ศูนย์การเรียนรู้มหิดล” ขึ้นในปัจจุบัน
อาจารย์เอนก นาวิกมูล ผู้ก่อตั้งบ้านพิพิธภัณฑ์ พูดในฐานะชาวบ้านธรรมดาที่อยากเห็นอะไรในจดหมายเหตุ จากประสบการณ์พบว่า หนังสืออนุสรณ์งานศพและสมุดภาพ เป็นแหล่งข้อมูลแหล่งค้นคว้าที่สำคัญ เพราะสามารถทราบถึงประวัติเรื่องที่เกี่ยวโยงของคนในยุคนั้นได้ นอกจากนั้น มหาวิทยาลัยมหิดลควรศึกษาพื้นที่โดยรอบ อ.บางเลน และแถบริมแม่น้ำนครชัยศรีซึ่งมีประวัติศาสตร์มากมาย จากภาพเก่า ภาพที่หายากจากเอกสารเก่าๆ ดังนั้นสมุดภาพ เป็นสิ่งที่ควรจัดทำขึ้นและรวบรวมไว้ เพราะบอกอดีตย้อนหลังได้ เช่นกัน
คุณจุฬาลักษณ์ ภู่เกิด ที่ปรึกษาสำนักพิมพ์มติชน กล่าวถึงการเชื่อมโยงประวัติศาสตร์ของมหาวิทยาลัยเกี่ยวกับเหตุการณ์ทางการเมืองก่อน 14 ตุลาคม และหลัง 14 ตุลาคม เพื่อเป็นอนุสติ การเรียนรู้ในสังคมจากคนรุ่นหนึ่งไปสู่คนรุ่นหนึ่ง การ“มองประวัติศาสตร์ต้องไม่ตัดต่อ มองเพื่อไม่ให้เกิดขึ้นอีก” เคารพในสิ่งที่เป็นประวัติศาสตร์ เอาความจริงเข้าไปต่อเติมเพื่อให้สมบรูณ์ยิ่งขึ้น เอกสารตั้งต้นที่รวบรวมไว้จากเหตุการณ์ 14 ตุลาคม นำมาจากกระทรวงสาธารณสุข และพิพิธภัณฑ์กระทรวงสาธารณสุข ซึ่งข้อมูลจากการเสียชีวิตและบาดเจ็บ
คุณชีวสิทธิ์ บุณยเกียรติ นักวิชาการอิสระ กล่าวถึงการจัดการหอจดหมายเหตุในประเทศฝรั่งเศส บทบาทของหอจอหมายเหตุ มีการสื่อสารสู่สาธารณะโดยผ่านเทคโนโลยีที่ทันสมัยอยู่เสมอ
มีขั้นตอนในการดำเนินงาน
- จัดหา ทำบันทึกจัดเก็บข้อมูลภาพย้อนหลัง เช่น รายการวิทยุ รายการโทรทัศน์ ภาพถ่าย เป็นต้น
- กู้แปลง การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัย เพิ่มคุณค่าเอกสารจดหมายเหตุต้องสอดคล้องและผสมผสานไปด้วยกัน
- อนุรักษ์มรดกโสตทัศน์ การสื่อสารโดยใช้ภาพ หรือเกมส์
จดหมายเหตุจะเข้าถึงคนรุ่นใหม่ได้ต้องก้าวทันเทคโนโลยีเหมาะสมกับคนรุ่นใหม่ เช่น คุณเกิดในวันที่ 11 กรกฎาคม เมื่อย้อนหลังไปในอดีต อะไรเกิดขึ้นบ้างใน 11 กรกฎาคม คนรุ่นใหม่สามารถติดตามจากเทคโนโลยีใหม่ๆ นั้นได้
หมายเหตุ : การเข้าร่วมงานแถลงข่าว “หอพระราชประวัติสมเด็จพระบรมราชชนกหอเกียรติยศแห่งมหาวิทยาลัยมหิดลและหอจดหมายเหตุแผนที่และแผนผังแม่บท : และการเสวนา “หอจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์มหาวิทยาลัยกับคนรุ่นใหม่” ในวันพุธที่ 10 สิงหาคม 2554 เวลา 13.00 น. ณ ห้องจัดเลี้ยงชั้น 3 ศูนย์การเรียนรู้มหิดล